คุณสมบัติของพนักงานที่จะเอาประกันได้
- เป็นพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาที่มีอายุ
15 - 59 ปีและอยู่ปฏิบัติงานในวันที่เริ่มคุ้มครอง
- เป็นกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เกิน ระดับ 2
- กรรมการหุ้นส่วน และเจ้าของกิจการจะมีสิทธิเอาประกันได้เฉพาะผู้ที่ทำงานเต็มเวลาในบริษัทเท่านั้น
- ระดับอายุเฉลี่ยของกลุ่มไม่เกิน
40 ปี
กฏเกณฑ์อื่นๆ
- เบี้ยประกันจ่ายเป็นรายปี
- กรณีนายจ้างจ่ายเบี้ยประกัน พนักงานทั้งหมดจะต้องเข้าร่วมทำประกัน
หรือแยกทำเฉพาะฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งก็ได้ เช่น ทำประกันเฉพาะฝ่ายสินเชื่อ
ฝ่ายบัญชี ฝ่ายโรงงาน ฝ่ายขายเป็นต้น
- กรณีพนักงานจ่ายเบี้ยประกันเอง อัตราการเข้าร่วมต้องไม่น้อยกว่า
75% ของพนักงานทั้งหมด
เอกสารประกอบการสมัคร
- ใบคำขอเอาประกันชีวิตกลุ่มสวัสดิการพนักงาน
(สำหรับนายจ้าง)
- บัตรสมาชิก (สำหรับพนักงานแต่ละคน) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- แบบข้อมูลของพนักงาน
(ใช้สรุปข้อมูลของพนักงานแต่ละคนที่สมัครทำประกัน)
ระดับแผนประกัน
- แผนความคุ้มครองของพนักงานตำแหน่งเดียวกัน
จะต้องสมัครทำประกันอยู่ในแผนเดียวกัน
- สำหรับการประกันแผน 3 จะคุ้มครองตั้งแต่ระดับหัวหน้าขึ้นไปเท่านั้น
- พนักงานที่ใช้จักรยานยนต์ จะพิจารณาในอัตรา 1:5 และความคุ้มครองไม่เกินแผน
2
วันที่มีผลบังคับของกรมธรรม์จะเริ่มในวันที่
1 ของเดือนถัดไป
ระดับอาชีพ 1
ธนาคาร บริษัทประกันภัย สถานศึกษา
สถานีวิทยุ โรงมหรสพ การทำไม้กวาด ทำแปรง เครื่องจักสาน
ทำเครื่องใช้จากงา เขา กระดูกสัตว์ การตีพิมพ์ การหุ้มปก
การจัดพิมพ์โฆษณา โรงแรม
และภัตตาคาร เป็นต้น
ระดับอาชีพ 2
การทำสบู่ เทียน กาว การทำเครื่องปั้นดินเผา
การเจียระไนและขัดหิน นักแสดงชาย - หญิง
การแสดงออร์เคสต้าและอุปรากร ผลิตภาพยนต์ กลั่นสุรา ผลิตภัณฑ์อาหารนม
โรงงานบรรจุขวด
อาหารสำเร็จรูป ผลิตรองเท้า สินค้าจำพวกเครื่องหนัง เครื่องตกแต่งบ้านและผลิตภัณฑ์จากไม้
ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก การทอผ้า ผลิตผ้าและสินค้าผ้า การบริการ
ซักรีด พนักงานเดินตลาด
สถานที่ขายและบริการรถยนต์และกิจการอื่นๆจะพิจารณาเป็นรายๆไป
การประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน การประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก
|